พีระมิด

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

คำสาบของฟาโรห์ตุตันคาเมน


ไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดสุสานตุตันคาเมน เปิดเมื่อปี 1922 ผู้ร่วมพิธีเปิดในวันนั้นเสียชีวิตไป 22 คน ด้วยเหตุการณ์ลึกลับและหาคำอธิบายไม่ได้ทำให้เชื่อกันว่า ความตายเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป
วันที่ 4 พฤศจิกายน 1922 โฮเวิร์ด คาร์เตอร์(Howard Carter) และลอร์ด คาร์นาวอน(Lord Carnarvon) ชาวอังกฤษค้นพบสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในโลก พวกเขาเป็นสองคนแรกที่เข้าไปในสุสานของตุตันคาเมนในรอบ 3,000 ปี ในห้องที่พวกเขาพบเต็มไปด้วยทองคำและของมีค่ามากมาย ซึ่งเจ้าของของสิ่งมีค่าเหล่านี้คือฟาโรห์หนุ่มที่มีพระนามว่า "ตุตันคาเมน" นั่นเองและเหนือสุสานนี้มีข้อความอักษรอียิปต์โบราณซึ่งแปลได้ว่า "มัจจุราชจะมาสู่ผู้ซึ่งรบกวนการบรรทมของฟาโรห์"
สอง เดือนต่อมาลอร์ดคาร์นาร์วอน ก็ตายเพราะถูกยุงกัดทำให้เป็นนิวมอเนีย แต่ที่น่าประหลาดอย่างยิ่งที่มัมมี่ของยุวกษัตริย์ฟาโรห์ก็มีรอยยุงกัดที่ แก้มซ้าย ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ ลอร์ดคาร์นาร์วอน ถูกยุงกัดเหมือนกัน หลังจากนั้นไม่นานนัก อาร์เธอร์ แมค นักโบราณคดีอเมริกันซึ่งร่วมทีมกันขุดสุสานครั้งนี้ด้วย ได้อุทธรณ์ว่าเขารู้สึกเหนื่อยอ่อน แล้วทันใดนั้นก็เข้าขั้นโคม่าเขาหมดลมก่อนที่หมอจะมาถึง และทางแพทย์ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร ต่อมาก็เป็นผู้เชี่ยวชาญไอยคุปต์อีกคนหนึ่ง เขาคือ จอร์จ กูล์ด เพื่อนสนิทของคาร์นาร์วอน ซึ่งได้รีบเดินทางมาอียิปต์หลังจากได้ทราบข่าวมรณกรรมของคาร์นาร์วอน กูลด์ ได้เดินทางไปที่สุสานของฟาโรห์ ในวันต่อมาเขาล้มฟุบลงด้วยเป็นไข้ขึ้นสูง อีก 12 ชั่วโมง ต่อมาเขาถึงแก่กรรม อาร์ซิบัลด์ เรียด นักรังสีวิทยาที่ฉายเอ็กซ์เรย์มัมมี่พระศพฟาโรห์ได้ถูกส่งตัวกลับอังกฤษ เพราะเกินอ่อนเปลี้ยไร้เรี่ยวแรงขึ้นมาเฉย ๆ แล้วก็ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา, ริชาร์ด เบธเฮลล์ เลขาส่วนตัว คาร์นาร์วอน ในการขุดค้นสุสานครั้งนี้พบว่านอนตายอยู่บนเตียงเนื่องจากหัวใจวาย, โจเอล วูล ซึ่งเป็นแขกเชิญชุดแรกที่ไปดูสุสาน ตายในเวลาถัดมาไม่นานนัก ด้วยไข้ลึกลับที่แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ ภายในเวลา 6 ปีที่มีการขุดสุสานฟาโรห์ตุตันคาเมน ผู้ที่ได้ร่วมขุดค้นได้ตายไปถึง 12 คน และภายใน 7 ปีมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ร่วมในการขุดมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือใกล้ชิดผู้ที่ขุดสุสานจำนวน เกือบ 22 คน ได้ถึงแก่กรรมในเวลาไม่สมควร เช่น เลดี้คาร์นาร์วอน อีกคนหนึ่งทีฆ่าตัวตายด้วย เนื่องจากเกิดเป็นบ้าขึ้นมา มีผู้เดียวที่ร่วมเป็นหัวหน้าในการขุดสุสานฟาโรห์ที่โชคดีมีชีวิตอยู่คือ โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เขาตายตามธรรมชาติ เมื่อปี 1939


ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน

          ทุตอังค์อามุน ( ภาษาอียิปต์ : twt-ˁnḫ-ı͗mn ; อังกฤษ : Tutankhamun; อภิไธยอื่น ๆ; ประสูติ: 1341 ปีก่อนคริสตกาล, ทิวงคต: 1323 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นฟาโรห์อียิปต์พระองค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ระหว่าง 1333-1324 ปีก่อนคริสตกาล


พระประวัติ

การบริหารบ้านเมืองจึงตกอยู่กับวิเซียร์ ไอย์ (Vizier Ay) ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนได้ครองราชย์ในรัชสมัยของพระองค์ช่วงสั้นๆ ราว 9 ปี ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน เป็นเพราะฟาโรห์ทุตอังค์อามุน สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน วิเซียร์ อัยย์จึงได้สร้างสุสานถวายแบบง่าย ๆ
ราวสองร้อยปีต่อมา มีการสร้างสุสานของฟาโรห์รามเสสที่ 6 ทับสุสานของ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ทั้ง ๆ ที่คนงานก็รู้แต่นึกว่าเป็นบุคคลธรรมดาจึงไม่ได้เสนอเบื้องบน จึงทำให้สุสานของฟาโรห์ทุตอังค์อามุนนี้ ปลอดภัยและนับเป็นสุสานที่สมบูรณ์ที่สุด
ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนทรงได้อภิเษกสมรสกับพระนางอันเคเซนามุน พระธิดาพระองค์ที่ 3 จากทั้งหมด 6 พระองค์ในพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งเป็นมเหสีองค์แรกของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 เจ้าหญิงจากมิตันนี (Mitanni) ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมีย
ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนสวรรคตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่ยังมีพระชนมายุยังไม่ครบ 19 ชันษา อีกทั้งไม่มีองค์รัชทายาท วิซิเออร์ อัยย์ จึงรีบฉวยโอกาสแต่งกับราชินีม่ายเพื่อจะได้ครอบครองดินแดนอียิปต์ต่อไป



อักษรอียิปต์

ไฮโรกลิฟ (อังกฤษ: Hieroglyph) เป็นอักษรภาพอย่างหนึ่งของอียิปต์โบราณ เพิ่งมีการอ่านและแปลความหมายได้อย่างชัดเจนเป็นระบบเมื่อมีการค้นพบหินโรเซตตาในปี พ.ศ. 2342 ที่จารึกโดยตัวอักษร 3 แบบ คือ กรีกโบราณ ดีโมติก และไฮโรกลิฟ การเปรียบเทียบชื่อราชวงศ์ต่าง ๆ โดยใช้ตัวอักษร 3 แบบ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณสามารถอ่านอักษรไฮโรกลิฟ ได้ใน 25 ปีต่อมา




จุดกำเนิด


 ชาวอียิปต์เชื่อว่าอักษรนี้ประดิษฐ์โดยเทพเจ้าโทห์ และเรียกชื่ออักษรว่า mdwt ntr (คำพูดของพระเจ้า) คำว่าไฮโรกลิฟฟิก มาจากภาษากรีก hieros (ศักดิ์สิทธิ์) + glypho (จารึก) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรก โดยคลีเมนต์แห่งอเล็กซานเดรีย การเขียนในอียิปต์ที่เก่าที่สุด เริ่มเมื่อราว 2,867 ปีก่อนพุทธศักราช ส่วนอักษรไฮโรกลิฟฟิกที่ใหม่ที่สุด เป็นประกาศที่กำแพงวิหารในฟิแล (philae) อายุราว พ.ศ. 939 อักษรนี้ใช้กับจารึกอย่างเป็นทางการ ตามกำแพงวิหารและหลุมฝังศพ บางแห่งมีการระบายสีด้วย การเขียนทั่วไปในชีวิตประจำวันใช้อักษรเฮียราติกหลังจากจักรพรรดิทีออสซิอุสที่ 1 สั่งปิดวิหารของพวกเพเกิน ทั่วจักรวรรดิโรมันในช่วงพ.ศ. 1000 ความรู้เกี่ยวกับอักษรนี้ได้สูญหายไป จนกระทั่งชอง-ฟรองซัว ชองโปลียง ชาวฝรั่งเศสถอดความอักษรนี้ได้


ลักษณะ


อักษรไฮโรกลิฟฟิกอาจจะเก่ากว่าอักษรรูปลิ่มของชาวสุเมเรีย ทิศทางการเขียนเป็นได้หลายแบบ ทั้งแนวนอน ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย แนวตั้งจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย การบอกทิศทาง สังเกตจากการหันหน้าของรูปคนหรือสัตว์ ซึ่งจะหันหน้าเข้าหาจุดเริ่มต้นของเส้น อียิปต์ยุคต้นและยุคกลาง (ราว 1,457-1,057 ปีก่อนพุทธศักราช) ใช้สัญลักษณ์ 700 ตัว ในยุคกรีก-โรมัน ใช้สัญญลักษณ์มากกว่า 5,600 ตัว สัญลักษณ์แต่ละตัวบอกทั้งการออกเสียงและความหมาย เช่นสัญลักษณ์ของจระเข้ เป็นรูปจระเข้รวมกับสัญลักษณ์แทนเสียง “msh” เช่นเดียวกับคำว่าแมว “miw” จะใช้รูปแมว รวมกับสัญลักษณ์แทนอักษร m i และ w
       อักษรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษรไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์จะเรียกอักษรไฮโรกลิฟฟิกด้วย เช่นอักษรไฮโรกลิฟฟิกของชาวลูเวียและชาวฮิตไตน์




คัมภีร์มรณะ


คัมภีร์มรณะ (Book of the Dead) มีชื่อดั้งเดิมในภาษาฮีโรกลิฟฟิก แปลว่า The Cahptors of Coming-Forth-By-Day ในปี ค.ศ. 1842 นาย โทมัส จี อัลเลน (Thomas G. Allen) ผู้แปลภาษาอียิปต์โบราณที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ได้ให้ความหมายของคัมภีร์มรณะว่า เป็นความปรารถนาที่จะเดินทางไปยังยมโลก
คัมภีร์มรณะทำด้วยกระดาษปาปิรุส (Papyrus) บรรจุถ้อยคำยาวเหยียด อักษรสีแดงใช้เป็นหัวเรื่อง หรือคำที่เน้นว่าสำคัญ นอกนั้นใช้สีดำ บางครั้งก็มีวาดรูปประกอบไว้ด้วย
ชีวิตหลังความตายของชาวอียิปต์โบราณนั้นเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้วอนูบิส (Anubis) จะมารับดวงวิญญาณไปสู่ยมโลก โดยพานั่งเรือเทพเจ้ารา (Ra) ซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ ผ่านอาณาจักรของเทพเจ้ารา ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก จากนั้นเรือก็จะผ่านเขตสุดท้ายคือมหาวิหารพิพากษาของเทพโอซิริส วิญญาณของผู้ตายก็จะถูกเกณฑ์ลงเรือเข้าไปยังห้องพิพากษาของวิญญาณ ตรงกลางมีตราคันชั่งใหญ่แบบตราชู เทพฮอรัสกับเทพอนูบิสจะทำการกำกับการชั่ง โดยนำเอาหัวใจของผู้ตายชั่งไว้ข้างหนึ่งของตาชั่ง ส่วนอีกข้างจะเป็นขนนกของเทพีมะอาท (Maat) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรม
ผู้ตายจะต้องประกาศความดีที่ตนเคยทำเอาไว้ครั้งที่ตนยังมีชีวิตอยู่ พร้อมทั้งประกาศว่าตนไม่เคยทำความผิดบาป 42 ประการ เช่น ไม่เคยชักชวนให้ผู้อื่นเสียคน ไม่เคยใส่ร้ายป้ายสีใคร ไม่เคยกล่าวคำเท็จ ไม่เคยเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เคยฉ้อฉล ไม่เคยสั่งฆ่าผู้ใด ไม่เคยฆ่าใคร ไม่เคยลบหลู่ดูหมิ่นพระเจ้า และไม่เคยทำในสิ่งที่พระองค์รังเกียจ เป็นต้น ผู้ตายจะต้องประกาศสิ่งเหล่านี้ต่อหน้าเทพโอซิริส (Osiris)
หากสิ่งที่ผู้ตายพูดเป็นความจริง ขนนกของเทพีมะอาทจะหนักกว่าหัวใจของผู้ตาย นั่นก็ถือว่าผู้ตายได้ผ่านการทดสอบ และได้เข้าไปอยู่ในดินแดนของเทพเจ้ารา ที่เต็มไปด้วยแสงสว่าง ความสวยงาม และความอุดมสมบูรณ์ไม่รู้จักจบจักสิ้น
แต่ถ้าสิ่งที่ผู้ตายพูดเป็นเท็จ หัวใจของผู้ตายจะหนักกว่าขนนกของเทพีมะอาท นั่นก็ถือว่าผู้ตายไม่ได้ผ่านการทดสอบ และผู้นั้นจะไม่ได้ไปในที่ๆ เป็นดินแดนของเทพเจ้ารา ดินแดนแห่งนั้นจะเป็นที่ๆ ผู้ตายจะไม่ได้รับแสงสว่างจากเทพเจ้าราเลย และยังเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความอดอยากหิวโหย
คัมภีร์มรณะเกิดขึ้นภายหลังจากการที่อียิปต์อยู่ในสมัยจักรวรรดิแล้ว ก่อนหน้านั้น อียิปต์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพวกฮิกซอสเป็นเวลานานถึง 200 ปี ศาสนาและหลักศีลธรรมของอียิปต์เรื่อมเสื่อมลง ความเชื่อเรื่องเครื่องลางของขลังได้เข้ามาแทนที่ ทำให้พวกพระเข้ามามีบทบาทในจิตใจของชาวอียิปต์อย่างมาก พวกพระเหล่านี้เป็นพระที่มีความละโมภในทรัพย์สิน ได้เป็นผู้ริเริ่มขายหนังสือเวทมนตร์ต่างๆ ซึ่งเป็นการล้มล้างความผิดให้กับผู้ตาย โดยการเขียนใส่กระดาษปาปิรุส (Papyrus) ใส่ไว้ในหว่างขาของมัมมี่ (Mummy) หรือตรงฐานโลงศพ
ข้อความในคัมภีร์มรณะเป็นคาถาอาคมป้องกันไม่ให้วิญญาณเสื่อมสลาย บทร่ายเวทมนตร์ช่วยให้วิญญาณพ้นจากการถูกขังในยมโลก บรรยากาศการตัดสินต่อหน้าเทพโอซิริสในยมโลก รวมถึงคำพูดที่ผู้ตายควรพูดเมื่ออยู่ต่อหน้าเทพเจ้าโอซิริส
เชื่อกันว่า การซื้อคัมภีร์มรณะถือว่าเป็นการซื้อใบเบิกทางให้ตนได้เข้าสู่อาณาจักรของเทพเจ้ารา แม้ว่าจะเคยทำผิดหรือไม่ก็ตาม ทำให้ไม่จำเป็นต้องทำความดี ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ศาสนาและหลักศีลธรรมของอียิปต์เริ่มเสื่อมลง


ลำดับราชวงศ์


  • ปลายยุคก่อนราชวงศ์แห่งอียิปต์โบราณ
  • ยุคราชวงศ์  ( ดูได้ที่ ลำดับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์ )
    • ราชวงศ์ต้นๆ  ( ราชวงศ์ที่หนึ่ง และ ราชวงศ์ที่สอง )
    • ราชอาณาจักรเก่า  ( ราชวงศ์ที่สาม ถึง ราชวงศ์ที่หก )
    • ช่วงต่อระยะที่หนึ่ง  ( ราชวงศ์ที่เจ็ด ถึง ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด )
    • ราชอาณาจักรกลาง  ( ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ถึง ราชวงศ์ที่สิบสี่ )
    • ช่วงต่อระยะที่สอง  ( ราชวงศ์ที่สิบห้า ถึง ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด )
    • ราชอาณาจักรใหม่  ( ราชวงศ์ที่สิบแปด ถึง ราชวงศ์ที่ยี่สิบ )
    • ช่วงต่อระยะที่สาม  ( ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด ถึง ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า )
    • ยุคปลาย  ( ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก ถึง ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด )
    • ยุคกรีก - โรมัน  ( พ.ศ. 211 ถึง พ.ศ. 1182 )
      • กษัตริย์มาซิโดเนีย  ( พ.ศ. 211 ถึง พ.ศ. 238 )
      • ราชวงศ์ปโตเลมี  ( พ.ศ. 238 ถึง พ.ศ. 513 )
      • อียิปต์ตุส  ( รัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน พ.ศ. 513 ถึง พ.ศ. 1182 )
  • มุสลิมบุกอียิปต์  ( พ.ศ. 1182 )

ศิลปะอียิปต์

     ศิลปะอียิปต์ ( 2650 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย


จิตรกรรม

        งานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้ เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบ นอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว


สถาปัตยกรรม

         สถาปัตยกรรมอียิปต์ ใช้ระบบโครงสร้างเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและ แข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตร พิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนา รูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้า เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ - พ.ศ. 510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมาจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์และ หุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมา




ความเป็นมาอียิปต์โบราณ


อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช  โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 3,000 ปี  ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรใหม่" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่น้อยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์พ่ายแพ้ต่อการทำสงครามจากอำนาจของชาติอื่น จนกระทั่งเมื่อ 31 ปีก่อนคริตศักราชก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถเอาชนะอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิโรมัน 
อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 3,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป 
แผนที่ประเทศอียิปต์